วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

ความหมายของความรู้


1Ikujiro Nonaka

1.Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่างๆ ซึ่งสื่อสารหรือถ่ายทอดในรูปแบบของตัวเลข สูตร หรือลายลักษณ์อักษรได้ยาก ความรู้ชนิดนี้พัฒนาและแบ่งปันกันได้ และเป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
2.Explicit Knowledge ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และรายงานต่างๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย

2. Hideo Yamazaki

สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ  เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา

3. Davenport and Prusak

ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อมและกรอบการทำงานสำหรับการประเมินและรวมกันของประสบการณ์และสารสนเทศใหม่



4. Peter Senge

เป็นองค์การที่ซึ่งคนในองค์การได้ขยายขอบเขตความสามารถของตนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับบุคคลระดับกลุ่มและระดับองค์การเพื่อนำไปสู่จุดหมายที่บุคคลในระดับต่าง ๆ ต้องการอย่างแท้จริงเป็นองค์การที่มีความคิดใหม่ๆและการแตกแขนงของความคิดได้รับการยอมรับเอาในใส่และเป็นองค์การที่ซึ่งบุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของวิธีการที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งองค์การ

 5. Peter Drucker

งานเขียนของดรักเกอร์เกี่ยวกับการบริหารองค์กร จะเห็นแนวคิดของเขาที่มีลักษณะโดดเด่นอยู่ 3ประกาประการแรก เป็นทัศนะที่มองสิ่งต่างๆ จากจุดที่สูงของสังคมลงมา สังคมจึงเป็นจุดเริ่มต้นความคิดของดรักเกอร์ มาตรฐานที่ใช้วัดคำว่า “การบริหาร” จึงอยู่ที่ผลกระทบต่อสังคมโดยรวมหรือต่อสาธารณะประโยชน์ประการที่ 2 วิธีคิดของดรักเกอร์อาศัยทักษะความเชี่ยวชาญแบบพื้นฐานบวกกับความรอบรู้สาขาวิชาด้านต่างๆ ทำให้เกิดวิธีการวิเคราะห์ที่มองเห็นปัญหาต่างๆ อย่างได้ผล และสามารถนำความคิดนั้นมาใช้ในทางปฏิบัติ คำขวัญที่ดรักเกอร์ยึดถือคือ “เรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติ”ประการที่ 3 ความสามารถในการวิเคราะห์ได้ชัดเจนและแม่นยำจะไม่มีประโยชน์อะไร หากไม่สามารถนำเสนอออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจนและคนเข้าใจง่าย สิ่งที่เป็นมนต์เสน่ห์และพลังของแนวคิดดรักเกอร์คือความสามารถในการนำเสนอแนวคิดต่างๆ ออกมาเป็นหลักการที่ใครๆ ก็สามารถเข้าใจได้ หลักการต่างๆ นั้นก็มาจากความคิดแบบสามัญสำนึก (common sense) เช่น ประโยคคำพูดของเขาที่ว่า “โอกาสทางธุรกิจนั้นอยู่ภายนอกองค์กร ภายในองค์กรล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องค่าใช้จ่าย”

6. อ.ประเวช วะสี
ที่จำเป็นมี ประเภทใหญ่ ๆ เรียกว่าปัญญา หรือ จตุรปัญญา คือ ความรู้ธรรมชาติที่ เป็นวัตถุ ( วิทยาศาสตร์กายภาพ ) ความรู้ทางสังคม ( วิทยาศาสตร์สังคม ) ความรู้ทางศาสนา ( วิทยาศาสตร์ข้างใน ) และความรู้เรื่องการจัดการซึ่งปัญญาที่เกิดจากความรู้ชนิดใดชนิดหนึ่งไม่เป็นการเพียงพอที่จะ ทำให้เกิดดุลยภาพในสังคมเราจำเป็นต้องมีปัญญาอย่างบูราณาการ การศึกษาและการวิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาทุกด้านมิใช่ให้เรียนรู้เป็นส่วน ๆ เพราะความรู้แบบแยกส่วนจะนำไปสู่การกระทำแบบแยกส่วนทำให้เกิดการเสียดุลยภาพและเกิดวิกฤติการณ์ขึ้น การศึกษาเรียนรู้จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบเชื่อมโยงเนื่องจากในโลกแห่งความเป็นจริงนั้นเป็นโลกแห่งการเชื่อมโยงเป็นองค์รวม การจัดการเรียนรู้ควรจะไปให้ถึง ระดับ คือ 1.) ระดับที่เกิดความรู้ ซึ้งหมายถึงการรู้ความจริง การที่บุคคลจะทำอะไรให้สำเร็จได้บุคคลนั้นต้องรู้และใช้ความจริง ความรู้ต้องเป็นความจริงเพราะการใช้ความจริงทำให้ทำได้ถูกต้อง การให้ผู้เรียนสัมผัสความจริงเท่ากับ เป็นการให้ผู้เรียนมีความรู้ระดับเบื้องต้น 2.) ระดับที่เกิดปัญญา เป็นระดับที่ผู้เรียนสามารถบูรณาการหรือเชื่อมโยงความรู้ใน ด้านดังกล่าวข้างต้นและนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต 3.) ระดับที่เกิดจิตสำนึก คือ การเกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ และเข้าใจตัวเองว่าสัมพันธ์กับสรรพสิ่งอย่างไร ประเวศ วะสีท่านได้กล่าวต่อไปว่า จริยธรรมจะเกิดแก่บุคคลต่อเมื่อบุคคลนั้นได้บรรลุการเรียนรู้ทั้ง ระดับดังกล่าวจึงควรมีการปฎิรูปการเรียนให้มาเน้นการสัมผัส ความจริงการคิดและการจัดการให้มากขึ้นทุกระดับ
7. อ.วิจารณ์  พานิช
นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่  1.บรรลุเป้าหมายของงาน  2.บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน  3.บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้   4.บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน


8. อ.ประพนธ์ ผาสุกยืด

โมเดลปลาประกอบไปด้วย ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง ส่วนหัวปลา เรียกว่า KV ย่อมาจาก Knowledge Vision หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้ กล่าวคือ ส่วนหัวจะทำหน้าที่มองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร"
ส่วนตัวปลา เรียกว่า KS ย่อมาจาก Knowledge Sharing หมายถึงส่วนที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM เพราะต้องเกิดจากปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้คนพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน
ส่วนหางปลา เรียกว่า KA ย่อมาจาก Knowledge Assets หมายถึงส่วนที่เป็นเนื้อหาความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้" ส่วนหัวปลา เรียกว่า KV ย่อมาจาก Knowledge Vision หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้ กล่าวคือ ส่วนหัวจะทำหน้าที่มองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร" ส่วนตัวปลา เรียกว่า KS ย่อมาจาก Knowledge Sharing หมายถึงส่วนที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KM เพราะต้องเกิดจากปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้คนพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนหางปลา เรียกว่า KA ย่อมาจาก Knowledge Assets หมายถึงส่วนที่เป็นเนื้อหาความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้" ส่วนหัวปลา เรียกว่า KV ย่อมาจาก Knowledge Vision หมายถึงส่วนที่เป็นวิสัยทัศน์ หรือเป็นทิศทางของการจัดการความรู้ กล่าวคือ ส่วนหัวจะทำหน้าที่มองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า "ทำ KM ไปเพื่ออะไร" ส่วนตัวปลา เรียกว่า KS ย่อมาจาก Knowledge Sharing หมายถึงส่วนที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และเป็นส่วนที่ยากลำบากที่สุดในกระบวนการทำ KMเพราะต้องเกิดจากปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้คนพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนหางปลา เรียกว่า KA ย่อมาจาก Knowledge Assets หมายถึงส่วนที่เป็นเนื้อหาความรู้ที่เก็บสะสมไว้เป็น "คลังความรู้" หรือ "ขุมความรู้"
    สรุปความรู้  

คือข้อมูลต่างๆที่เกิดจากการอ่าน  การเรียนรู้สิ่งต่างๆทั้งทางตรงและทางอ้อม  ที่เข้ามาในชีวิตของเราและเราค้นไขว่เพื่อเรียนรู้ แต่สิ่งสำคัญมิใช่ความรู้มากมาย  แต่คือการรู้ในสิ่งที่ควรรู้และต้องรู้   รู้ในหน้าที่ของตน    รู้ในการแก้ปัญหาต่างๆ  รู้กาละเทสะ  รู้จักเวลา รู้จักเหตุรู้จักผล  รู้จักตน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น